จบลงไปแล้วกับงาน "One Stop Open House 2024" ภายใต้แนวคิด “อนาคตของคุณเริ่มต้นที่นี่: การศึกษายุคใหม่เพื่ออาชีพในฝัน” (Your Future Begins Here: Modern Education for Dream Careers) ระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์.มหาวิทยาลัยศิลปากรขอขอบคุณทุกๆ ท่านที่ให้ความสนใจบูธจากมหาวิทยาลัยศิลปากร "Silpakorn Art of Living : ศิลปะกับการใช้ชีวิตเพราะเราเชื่อว่าชีวิตออกแบบได้ที่ศิลปากร" .แล้วอย่าลืม มาพบกันในงาน "Silpakorn Showcase 2024" เปิดประตูสู่โอกาสใหม่กับการเรียนรู้ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร .วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 9.00-16.30 น.ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ วันเดียวเท่านั้น.พบกับ : คณะและสาขาวิชาต่าง ๆ พูดคุยกับอาจารย์และรุ่นพี่ กิจกรรมสนุก ๆ ข้อมูลการรับสมัครและทุนการศึกษา.เตรียมตัวมาให้พร้อม แล้วมาร่วมสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำไปด้วยกัน
มหาวิทยาลัยศิลปากร ขอแสดงความยินดี กับ ศาสตราจารย์ ดร.รัศมี ชูทรงเดช ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี ในโอกาสได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2568 สาขาปรัชญา จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)รางวัลสูงสุดของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เพื่อเชิดชูเกียรตินักวิจัยที่มีสัญชาติไทย มีผลงานวิจัยดีเด่น ที่แสดงถึงความคิดริเริ่มและเป็นผลงานวิจัย ที่ทำสะสมกันมาไม่น้อยกว่า 5 ปี
มหาวิทยาลัยศิลปากร เชิญชวนน้อง ๆ มัธยมปลายชมงาน One Stop Open House 2024 ✨ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ งานนี้เป็นส่วนหนึ่งของ อว แฟร์ ที่จัดโดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อเปิดมุมมองสู่อนาคต ผ่านความก้าวหน้าและนวัตกรรมทางการศึกษาที่ทันสมัย เปิดโอกาสในการค้นหาเส้นทางการศึกษาและอาชีพที่ตอบโจทย์ พร้อมคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญแบบ One Stop Service ! ภายใต้ธีม “Your Future Begins Here: Modern Education for Dream Careers” – “อนาคตของคุณเริ่มต้นที่นี่: การศึกษายุคใหม่เพื่ออาชีพในฝัน” .โอกาสสำคัญในการค้นหาเส้นทางการศึกษาและอาชีพที่ตอบโจทย์ พร้อมคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญแบบ One Stop Service! ไม่ว่าน้อง ๆ ฝันจะอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์, แพทย์, นักออกแบบ หรือผู้ประกอบการ มีทุกคำตอบและโอกาสรออยู่ที่นี่ สำหรับคนที่อยากเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยศิลปากรสามารถมารับชมตัวอย่างการแสดงผลงานจากคณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยศิลปากร รวมถึงพูดคุย รับข้อมูลข่าวสารการรับเข้าศึกษาต่อรอบต่าง ๆ จากมหาวิทยาลัยได้โดยตรง เป็นการเปิดประตู เตรียมความพร้อมให้กับชีวิตในรั้วอุดมศึกษา “เพราะที่นี่...เราเชื่อว่าคุณสามารถออกแบบและสร้างสรรค์อนาคตของตัวเองได้” โดยงาน One Stop Open House 2024 เปิดให้เข้าร่วมงานได้ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2567 เวลา 09.00 - 19.00 น. เป็นต้นไป ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ฮอลล์ 1-2
มหาวิทยาลัยศิลปากรขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติในสาขาต่างๆ จากเวที Young Thai Artist Award 2024 ภายใต้แนวคิด "Beloved Universe บอกรักโลกด้วยศิลปะ" ซึ่งผลงานแต่ละชิ้นสะท้อนวิธีการบอกรักโลกผ่านศิลปะที่สร้างสรรค์และเปี่ยมด้วยความหมายสาขาศิลปะ 2 มิติ- นายทิชานนท์ หงษ์ประเสริฐ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ ได้รับรางวัล Jury’s Mention ชื่อผลงาน “ทิวทัศน์ 2024 หมายเลข 2”- นางสาวณัฐณิชา โพธิขำ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ ได้รับรางวัล Distinguished Prize ชื่อผลงาน “สถาปัตย์ในใจของฉัน”- นายภาณุวัฒน์ ไชยรถ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ ได้รับรางวัล Distinguished Prize ชื่อผลงาน “สภาวะความไม่คุ้นชิน”สาขาภาพยนตร์- นายอัมพล วงค์ปันนา คณะคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้รับรางวัล Distinguished Prize ชื่อผลงาน “มรดกหยดสุดท้าย”สาขาวรรณกรรม- นายเมธาวี ก้านแก้ว คณะอักษรศาสตร์ ได้รับรางวัล Distinguished Prize ชื่อผลงาน “พิพิธภัณฑ์สันติภาพ” [ผลงานฉบับเต็ม]“...โลกกำลังล่มสลาย ภายนอกห้องมือประคองด้ามพู่กัน เริ่มสั่นงั่ก จิตรกรคนหนึ่งซึ่งเหนื่อยนัก แต่มิอาจหยุดพัก อีกสักครั้ง เฟรมกว้างกลางห้องแคบ ออกแบบภาพ แปรงเปรอะคราบความงาม อีกความหลัง ! ขณะพื้นแผ่นดินค่อยภิณท์พัง พบความหวังอีกหน...บนผืนเฟรม…”
มหาวิทยาลัยศิลปากรขอแสดงความยินดีกับ นักศึกษาคณะวิทยาการการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร คว้า 4 รางวัล ในการแข่งขันสุดยอดนักการตลาดออนไลน์ by MILLE โดยมีผู้เข้าร่วมเข้าร่วมแข่งขันมากกว่า 1,000 คนในระดับมหาวิทยาลัย โดยเป็นการแข่งขันทำคลิปวิดีโอโพสต์ลงช่องทาง Tiktok และวัดผลโดยจำนวนผู้เข้าชมสูงสูงสุด และความคิดสร้างสรรค์ ในกิจกรรม Skin of New Gen เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ณ ลานโปรโมชัน ชั้น 1 เซ็นทรัล ลาดพร้าว กรุงเทพฯโดยมีทีมที่ปรึกษาโครงการ ประกอบด้วย ผศ.ดร.ศิระ ศรีโยธิน (หัวหน้าสาขาวิชาการตลาด) รศ.ดร. ธีระวัฒน์ จันทึก ผศ. ดร. วุทธิชัย ลิ้มอรุโณทัย และ ผศ.ดร. ภาวิณี กาญจนาภา (อาจารย์ประจำสาขาการตลาด) โดยได้รับรางวัลชนะเลิศ 4 รางวัล จากทั้งหมด 11 รางวัล ประกอบด้วย1.รางวัลชนะเลิศคอนเท้นครีเอเตอร์และสุดยอดนักการตลาดออนไลน์ โดย นางสาวกุลลดา สุระพิมลศาล (นักศึกษาหลักสูตร MBA)2.รางวัลสุดยอดนักคิดสร้างสรรค์ โดย นางสาวณัฐณิชา ใจอุ้มผาง (นักศึกษาสาขาวิชาการตลาด ปี 2)3.รางวัลมือใหม่ สุดยอดนักการตลาดออนไลน์ โดย นางสาวพรจีรา แก้วลำพูน (นักศึกษาสาขาวิชาการตลาด ปี 2)4. รางวัลดีเด่น นักการตลาดออนไลน์ โดย นางสาวภรภัทร พัฒนเมธาบูรณ์ (นักศึกษาสาขาวิชาการตลาด ปี 2)
มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดโครงการSilpakorn KM DAY ประจำปี 2567เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเผยแพร่ผลงาน/นวัตกรรม ที่เป็นแบบอย่างที่ดีให้บุคลากรได้เรียนรู้และนำไปปรับใช้ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ธนะเศรษฐ์ ง้าวหิรัญพัฒน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ และมอบเกียรติบัตรวันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.00 น.ณ หอศิลป์บรมราชกุมารี คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม
3. หากได้รับการติดต่อในลักษณะดังกล่าว ควรสอบถามยืนยันข้อมูลกับทางมหาวิทยาลัยโดยตรงช่องทางการติดต่อสอบถามเพิ่มเติมกองทรัพยากรมนุษย์ โทร. 02-849-7546กองคลัง โทร. 02-849-7526กรมบัญชีกลาง โทร. 02-270-6400 (ในวันเวลาทำการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น.)มหาวิทยาลัยขอความร่วมมือทุกท่านในการตรวจสอบและป้องกันตนเองจากการถูกหลอกลวง เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลและทรัพย์สินของท่าน
มหาวิทยาลัยศิลปากรขอแสดงความยินดีกับ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 (ทีม 19 มะดันศิลปากร) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ เอกการสื่อสารเชิงธุรกิจ (เน้นการลูกค้าสัมพันธ์) หรือ BC-CRM คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารคว้ารางวัล Best Young Influencer Award ในฐานะตัวแทนจากทีมนักศึกษาของมหาวิทยาลัยศิลปากร จากเวทีระดับประเทศ Thailand Influencer Awards 2024 ณ เอ็มซีซี ฮอลล์ ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ เมื่อวันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2567โดยรางวัลนี้เป็นผลมาจากโครงการ Young Influencer Challenge Thailand 2023: ชวนยูสร้างรอยยิ้ม ที่สร้างปรากฏการณ์ในการพัฒนาสินค้าชุมชน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เปิดพื้นที่ให้เยาวชนได้แสดงพลัง นำความคิดสร้างสรรค์ พร้อมนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแผนการตลาดจำหน่ายสินค้าชุมชนในโครงการ ชุมชนยิ้มได้ โดย กลุ่ม ปตท. ผ่านช่องทางออนไลน์ สร้างประสบการณ์จริง ซึ่งตลอดการแข่งขันมีเยาวชนเข้าร่วม 30 ทีม กว่า 137 คน จาก 10 มหาวิทยาลัย ได้แสดงศักยภาพในการสื่อสารการตลาดทางออนไลน์ให้กับสินค้ากับชุมชน โดยศึกษาอัตลักษณ์สินค้าชุมชนร่วมกับชุมชนเจ้าของสินค้านั้น ๆ อย่างจริงจังจนมาสู่การวางแผนการตลาด ทำให้สามารถสร้างรายได้ในการจำหน่ายสินค้าส่งเสริมให้สินค้าชุมชนในโครงการฯ เป็นที่รู้จักแพร่หลายเพิ่มมากขึ้น และยังเป็นการจุดประกายความตระหนักในบทบาทของเยาวชนไทยในการเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนยั่งยืนได้
“Digital Arts and Design: International Conference and Exhibition” งานประชุมและนิทรรศการนานาชาติ ดิจิทัลอาร์ตส์และการออกแบบ.(You can read the English version of the news below.).ศูนย์กิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร และวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ Birmingham City University สหราชอาณาจักร จัดงานประชุมและนิทรรศการนานาชาติ ดิจิทัลอาร์ตส์และการออกแบบ เพื่อเป็นเวทีให้ศิลปิน นักวิจัย และนักวิชาการได้แสดงผลงาน และค้นหาความสร้างสรรค์ ด้านดิจิทัลอาร์ตส์และการออกแบบ งานประชุมจะจัดขึ้นในวันที่ 28 - 29 พฤศจิกายน 2567 ณ Royal Orchid Sheraton Hotel & Towers บางรัก กรุงเทพมหานคร“Digital Arts and Design: International Conference and Exhibition” is organized by Silpakorn International Centre and Silpakorn University International College, Thailand in collaboration with Birmingham City University, United Kingdom to provide a platform for artists, researchers and scholars to discuss, display and explore creative possibilities in the fields of digital arts and design. The conference will be held on 28 - 29 November 2024 at Royal Orchid Sheraton Hotel & Towers located in Bangkok, Thailand.
DEK68 เตรียมตัวให้พร้อม! พบกับ SU Showcase (Live Online) วันที่ 8 พ.ย.นี้.สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังมองหาข้อมูลเกี่ยวกับคณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยศิลปากรเพื่อประกอบการตัดสินใจการเข้าศึกษาต่อ ศิลปากรไม่รอช้าขอเปิด Silpakorn Showcase Online พร้อมข้อมูลแน่น ๆ จากตัวแทนอาจารย์และรุ่นพี่จากทุกคณะ มาร่วมพูดคุยและตอบข้อสงสัยที่น้อง ๆ อยากรู้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น-บรรยากาศการเรียนเป็นยังไง ? -เรียนยากไหม ? เนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ?-เรียนจบแล้วทำอะไรได้บ้าง ?-เตรียมตัวอย่างไรถ้าอยากเข้าคณะนี้ ? .ไม่ว่าจะอยากเข้าคณะสายวิทย์หรือสายอาร์ตก็ห้ามพลาด กับ Silpakorn Showcase #DEK68 วันที่ 8 พฤศจิกายนนี้ผ่าน Live Facebook Silpakorn University เท่านั้น
มหาวิทยาลัยศิลปากร ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านศิลปะในการประกวดศิลปกรรม ปตท. ครั้งที่ 39 (The 39th PTT Art Awards) ด้วยผลงาน “บันดาลใจ” จิตรกรรมดิจิทัล โดยนางสาวนารา วิบูลย์สันติพงศ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ได้รับรางวัล PTT Art Winner Awards : ระดับเยาวชนอายุระหว่าง 14 - 18 ปี ในการประกวดนี้ ที่มาของผลงาน “บันดาลใจ” ผลงานจิตรกรรมดิจิทัลสุดโดดเด่นที่ได้ใจคณะกรรมการจนทำให้เป็นผลงานที่ชนะเลิศในการประกวดศิลปกรรม ปตท. ครั้งที่ 39 นี้ มาจากแนวความคิดของตัวเธอเองที่มองว่า ในโลกปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงมากมายเกิดขึ้นในสังคมทำให้เราอาจสับสน ท้อถอย พลังจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เรามีกำลังใจได้ พลังที่ส่งต่ออาจมาจากทั้งพลังความคิด พลังชีวิต พลังรักษ์ พลังความรู้ สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลทำให้เราพัฒนาตนเองได้ ผลงานชิ้นนี้เธออยากสื่อสารถึงพลังแรงบันดาลใจ ที่ได้รับมาจากทั้งผลงานของศิลปินต่าง ๆ งานศิลปะ ตัวการ์ตูนที่ชอบวัยเด็ก ธรรมชาติ เละสัตว์ เป็นพลังที่สร้างแรงบันดาลใจให้ตัวเธอได้เริ่มทำงานศิลปะเเละสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ขึ้นมา ส่วนต้นไม้สีแดงที่มีกิ่งก้านเเตกออกไปเป็นสัญลักษณ์ของ “พลัง” ที่อยากจะส่งต่อให้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นสายงานไหนหรือสนใจในด้านอะไรก็มีพลังที่แตกต่างกันออกไปดังนั้นเราต้องหาพลังให้เจอ สร้างพลัง และส่งต่อพลังให้สังคม ด้วยฝีไม้ลายมือที่ไม่ธรรมดาและแนวคิดในการสื่อสารผลงานที่คมคาย ทำให้ผลงาน “บันดาลใจ” ชิ้นนี้ กลายเป็นผลงานชิ้นเยี่ยมที่คว้ารางวัล “PTT Art Winner Awards” ครั้งที่ 39 ครั้งนี้ได้สำเร็จ นอกจากนั้นแล้ว มหาวิทยาลัยศิลปากรยังไม่หยุดตอกย้ำความสำเร็จด้านศิลปะ ไปต่อกับอีกหนึ่งผลงานยอดเยี่ยมจากนักศึกษาคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ ที่ไปคว้ารางวัลชนะเลิศ “Most Promising Artist of the Year” ประเภทศิลปินใหม่หรือสมัครเล่น จากธนาคารยูโอบี ในโครงการประกวดจิตรกรรมยูโอบี (UOB Painting of the Year) ซึ่งเป็นพื้นที่ให้ศิลปินหน้าใหม่และศิลปินมืออาชีพได้มีเวทีแสดงฝีมืออย่างต่อเนื่องมากว่า 40 ปี โดยนางสาวพัฒน์นรี บุญมี คว้ารางวัลชนะเลิศกับผลงาน “สังคมเชิงลบ (The Hostile Society)” สะท้อนแนวคิดปัญหา Hate Speech หรือการสื่อสารที่ก่อให้เกิดความเกลียดชัง ทั้งที่เกิดจากครอบครัว คนรอบข้าง โลกออนไลน์ หรือสื่อสาธารณะ ที่สะท้อนออกมาผ่านผ้า Canvas ผ่านเทคนิคการใช้สีน้ำมันและสีอะคริลิกบนผ้าใบได้อย่างน่าประทับใจ รวมถึงศิลปินศิษย์เก่าคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ “ปาลฉัตร ยอดมณี” ที่ฝากผลงาน “ฤดูฝน 2024-2025” สื่อถึงเศษซากของสิ่งมีชีวิตและธรรมชาติที่ตายแล้ว แต่ยังหลงเหลือร่องรอยของความงาม ผ่านเทคนิคสื่อผสมบนผ้าใบ งดงามและน่าประทับใจจนสามารถคว้ารางวัลเหรียญเงิน ประเภทศิลปินอาชีพมาได้สำเร็จ มหาวิทยาลัยศิลปากร ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่าที่มีความสามารถโดดเด่นทางด้านศิลปะ สะท้อนความเป็นผู้นำด้านศิลปะของมหาวิทยาลัยศิลปากรสู่สังคมไทยและนานาชาติที่ได้รับรางวัลในการประกวดศิลปกรรม ปตท. ครั้งที่ 39 และ โครงการประกวดจิตรกรรมยูโอบี (UOB Painting of the Year) ในครั้งนี้
นักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร คว้ารางวัลโครงการริเริ่มด้านการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมระดับเอเชีย.(Read English in below.).คณะนักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จากหลักสูตรสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและสภาพแวดล้อมสรรค์สร้าง และหลักสูตรนานาชาติ สาขาวิชาการจัดการมรดกสถาปัตยกรรม อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และการท่องเที่ยว ได้เตรียมข้อเสนอโครงการว่าด้วยการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมบนโลกร่วมสมัยเพื่อส่งผ่านคุณค่าไปยังอนาคตและตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีข้อเสนอโครงการจำนวนกว่า 100 โครงการจากทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย และคณะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากรได้รับการคัดเลือกเข้ารอบการนำเสนอจำนวน 2 โครงการ ให้ได้รับทุนสนับสนุนให้เดินทางไปนำเสนอที่ Asian Cultural Heritage Youth Forum 2024 ระหว่างวันที่ 1-5 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ซึ่งในปีนี้ เมืองกูจิง รัฐซาราวัค สหพันธรัฐมาเลเซียเป็นเจ้าภาพ โดยมีข้อเสนอโครงการจำนวน 20 โครงการ เยาวชนจากภูมิภาคเอเชียจาก 22 ประเทศ จำนวน 100 คน เข้าร่วมการนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ในโครงการริเริ่มเพื่ออนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมที่อยู่ในภาวะเสี่ยงให้ยังคงรักษาคุณค่า และส่งผ่านต้นทุนไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ในอนาคต ภายใต้การสนับสนุนและความร่วมมือระหว่าง China Cultural Relics Protection Foundation, Swinburne University of Technology, Fudan University, Sun Yat-Sen University, UNESCO Chair on Sustainable Tourism in UNESCO Designated Site และ Ministry of Tourism, Cretive Industry and Performing Arts Sarawak, Malaysia.ทั้งนี้ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งประกอบด้วยนักศึกษาไทย จีน เวียดนาม ญี่ปุ่น ภูฐาน ที่เรียนที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร. เกรียงไกร เกิดศิริ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และจากการนำเสนอข้อเสนอโครงการต่อสาธารณชนที่พิพิธภัณฑ์แห่งบอเนียว ได้รับรางวัล 2 รางวัล คือ รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และรางวัลข้อเสนอโครงการดีเด่นด้านความคิดสร้างสรรค์ในการอนุรักษ์ โดยมีรางวัล 20000 ริงกิตมาเลเซีย หรือประมาณ 150,000 บาท เพื่อให้เยาวชนที่ได้รับรางวัลได้พัฒนาโครงการริเริ่มนั้นให้เป็นจริงในอนาคต โดยรับรางวัลจาก โดยเข้ารับรางวัลจาก Dato Gerald Rentap Jabu, รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เยาวชน กีฬา และการพัฒนาผู้ประกอบการ (Ministry of Youth, Sports, and Entrepreneur Development) รัฐซาราวัค (Sarawak) สหพันธรัฐมาเลเซีย.โครงการที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ คือ “From Local Wisdom to a Sea Salt-Based Construction Materials Economy for Intergenerational Sustainability” ที่มีเป้าหมายในการทำงาน 2 มิติ คือ การรักษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมและอุตสาหกรรมการผลิดเกลือทะเลแบบโบราณที่จังหวัดสมุทรสงคราม และการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อสร้างโอกาสให้กับชุมชนท้องถิ่น ด้วยการสร้างด้วยข้อเสนอโครงการเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมการผลิตวัสดุก่อสร้างจากเกลือ ตลอดจนวัสดุเหลือใช้ และขยะจากท้องทะเล ซึ่งมีคณะทำงาน คือ ภูมิภัทร์ นรภูมิพิภัชน์, ณัฐกร อุตรารัชต์กิจ, เกียรติศักดิ์ เพ็งเล็งดี , Pham Le Gia Huy, และSainan Han.รางวัลข้อเสนอโครงการดีเด่นด้านความคิดสร้างสรรค์ในการอนุรักษ์ ในโครงการชื่อ "The Local Wisdom in Community Based Establishment” ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งสร้างแพลทฟอร์มความร่วมมือในการอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่ตกอยู่ในความท้าทายในระดับสากล เพื่อให้ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมสรรค์สร้างพื้นถิ่น ที่ในปัจจุบันอยู่ในสภาวะเสี่ยงได้ทำหน้าที่เป็นแหล่งเรียนรู้แบบสหวิทยาการของคนรุ่นใหม่ และสร้างให้เกิดโอกาสในการอนุรักษ์มรดกสภาพแวดล้อมสรรค์สร้างพื้นถิ่นบนฐานของความร่วมมือในระดับสากล ซึ่งมีคณะทำงาน คือ จอมขวัญ สุวรรณานนท์, กุลธิดา โพนิมิต, ศศิกานต์ ชายทวีป, Eisuke Shoji และ Thinley Jamtsho Tshering.ทั้งนี้ กุลธิดา โพนิมิตร แสดงทัศนะว่า “จากการร่วมงาน Asian Cultural Heritage Youth Forum 2024 ที่ซาราวัก มาเลเซีย ครั้งนี้ รู้สึกประทับใจเป็นอย่างมาก การเดินทางครั้งนี้ทำให้ได้รับโอกาสและความรู้มากมาย ได้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนและสนทนากับเพื่อนๆต่างชาติต่างภาษา ได้รู้จักวัฒนธรรมและภาษาของชาติอื่น ได้เห็นวิธีคิดและมุมมองที่แตกต่างกัน รวมไปถึงการได้เห็นวัฒนธรรมและการเป็นอยู่ของผู้คนในเมือง ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีอย่างยิ่ง ที่ได้เปิดโลกทัศน์ให้กว้างไกลและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นอย่างเคารพในความหลากหลายทางวัฒนธรรม และเป็นพลเมืองโลกที่ร่วมกันขับเคลื่อนโลกไปบนฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน”.ณัฐกรณ์ อุตรารัชกิจ แสดงทัศนะว่า “การเข้าร่วมกิจกรรมเยาวชนมรดกวัฒนธรรมแห่งเอเชีย 2024 ที่ ซาราวัก มาเลเซีย ถือเป็นโอกาสที่ดีที่สุดในชีวิตครั้งหนึ่งและความสำเร็จขั้นเริ่มต้นของโครงการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมชาวนาเกลือ เป็นผลมาจากการได้ก้าวออกจากกรอบความคิดของตัวเองสู่ความเป็นสากล การได้รับฟังคอมเม้นต์ของคณะกรรมการนานาชาติและความสำเร็จครั้งนี้ จุดประกายให้โครงการเพื่อชาวนาเกลือที่จะเกิดขึ้นจริงในอนาคต ขอขอบคุณ Asian Cultural Heritage Foundation ที่มอบโอกาสให้ได้พิสูจน์ความคิดต่อความเป็นสากล ความร่วมมือจากชุมชน สมาชิกในกลุ่มที่ยอดเยี่ยม และผู้จัดกิจกรรมเยาวชนมรดกวัฒนธรรมแห่งเอเชีย หากขาดการสนับสนุนดังกล่าวคงมิอาจประสบความสำเร็จไปได้”.เกียรติศักดิ์ เพ็งเล็งดี “การได้รับโอกาสเดินทางที่เมืองกูจิง มาเลเซีย ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดกับผู้เข้าร่วมจากประเทศต่างๆ และเรียนรู้วิถีวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของพื้นที่ ตลอดจนได้เรียนรู้มรดกสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนยาวที่เป็นตัวอย่างที่หาได้ยากยิ่งในปัจจุบัน ทำให้เกิดความรัก ความเข้าใจ และการเคารพในความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้คน”.Pham Le Gia Huy แสดงทัศนะว่า “การเข้าร่วมในกิจกรรมในครั้งนี้ ทำให้มีโอกาสได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดจนความคิดเห็น และข้อแนะนำอันมีค่าจากผู้เชี่ยวชาญและเพื่อนร่วมงานจากต่างประเทศ ซึ่งจะนำไปประยุกต์ใช้กับงานมอบหมายและงานวิจัยในอนาคตได้ นอกจากนี้ยังได้สร้างมิตรภาพระหว่างประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย เพื่อร่วมกันสร้างความร่วมมือในอนาคตในการอนุรักษ์ และการส่งผ่านคุณค่าของมรดกวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ประสบการณ์ในครั้งนี้จึงน่าตื่นเต้น สร้างสรรค์ และน่าจดจำอย่างแท้จริง ซึ่งต้องขอขอบคุณผู้จัด และเพื่อนในคณะทำงานที่มุ่งมั่นในการทำงานที่ทำให้พวกเราประสบความสำเร็จในครั้งนี้”Students from Silpakorn University Awarded the 2024 Asia Cultural Heritage Conservation Initiative Award.Students from Faculty of Architecture at Silpakorn University, particularly those in the Vernacular Architecture and Built Environment program and the International Program in Architectural Heritage Management, Creative Industries, and Tourism, have developed a project proposal focusing on the conservation of cultural heritage in the context of today. Their mission is to safeguard its value of cultural heritage for future generations and address the challenge of sustainable development. The Asian Cultural Heritage Youth Forum 2024, scheduled for October 1–5, 2024, featured more than 100 project proposals from several Asian countries. This year, Kuching, Sarawak, Malaysia, was the venue for the event. Twenty project proposals were submitted, and 100 youths from 22 Asian countries showcased their unique concepts for safeguarding endangered cultural heritage, maintaining its significance, and promoting sustainable development in the future with the endorsement and collaboration of the China Cultural Relics Protection Foundation, Swinburne University of Technology, Fudan University, Sun Yat-Sen University, the UNESCO Chair on Sustainable Tourism in a UNESCO-designated site, and the Ministry of Tourism, Creative Industry, and Performing Arts of Sarawak, Malaysia..Furthermore, students from Silpakorn University, comprising Thai, Chinese, Vietnamese, Japanese, and Bhutanese students, pursued their studies at Faculty of Architecture under the supervision of Associate Professor Dr. Kriengkrai Kirdsiri. They received two honors after presenting their project proposal to the public at the Museum of Borneo: the first prize and the Outstanding Project Proposal Award for Creative Conservation. The recipients of these honors will receive a prize of 20,000 Malaysian ringgit, which is equivalent to approximately 150,000 baht. Dato Gerald Rentap Jabu, the Minister of Youth, Sports, and Entrepreneur Development of Sarawak, Malaysia, presented the award..The winning proposal, "From Local Wisdom to a Sea Salt-Based Construction Materials Economy for Intergenerational Sustainability," aims to protect the cultural landscape and the traditional sea salt industry in Samut Songkhram Province, while simultaneously fostering the development of new products that will create opportunities for local communities. A project proposal for research and innovation in the creation of construction materials from salt, waste materials, and marine trash achieves this objective. The team comprises Poomipat Norapoompipat, Phạm Lê Gia Huy, Natthakorn Utraratchkij, Kiadtisack Penglengdee and Sainan Han.."The Local Wisdom in Community-Based Establishment," aiming to create a collaborative platform for the preservation of local architectural heritage amidst global issues, won the best proposal award and was recognized for its exceptional project proposal in conservation innovation. This platform seeks to serve as an interdisciplinary educational resource for the new generation and facilitate opportunities for the preservation of vernacular architectural heritage through international collaboration. The working group comprises Chomkhwan Suvarnananda, Kulthida Pothimit, Sasikarn Chaitaweep, Eisuke Shoji and Thinley Jamtsho Tshering..Kulthida Pothimit articulated her sentiments, stating, "I am profoundly impressed after attending the Asian Cultural Heritage Youth Forum 2024 in Sarawak, Malaysia. This journey has provided me with numerous possibilities and insights. I got the opportunity to converse and engage with friends from other countries and languages. I also became acquainted with the cultures and languages of various nations. I noted many perspectives and modes of thought, encompassing the cultures and lifestyles of urban inhabitants. The experience was enriching, expanding my perspectives, and instilling in me the importance of coexisting with respect for cultural variety while fostering my identity as a global citizen committed to sustainable development.”.Natthakorn Utraratchkij articulated that, "participating in Asian Cultural Heritage Youth 2024 in Sarawak, Malaysia, was among the most significant opportunities of my life. The initial success of the Salt Farmers Cultural Heritage Conservation Project stemmed from transcending my own perspective to engage with the international community, listening to feedback from the international professor and expert. This achievement has motivated the forthcoming Salt Farmer Project. I extend my gratitude to the Asian Cultural Heritage Foundation for affording me the opportunity to showcase my universality, the collaboration of the community, the exemplary group members, and the organizers of the Asian Cultural Heritage Youth Event. This would not have been possible without such help.”.Kiadtisack Penglengdee "I traveled to Kuching, Malaysia, where I exchanged ideas with participants from various countries and learned about the local culture, history, and the unique examples of longhouse architectural heritage. This has fostered affection, comprehension, and esteem for the cultural diversity of individuals.”.Pham Le Gia Huy expressed, “Engaging in this activity afforded me the opportunity to acquire new knowledge, valuable knowledge, and suggestions from experts and peers internationally, which I will implement in my future responsibilities and research.”
Dek68 อยากเป็นทีมศิลปากรห้ามพลาด! มา Create Your Life ได้ที่บูธศิลปากร ในงาน Dek-D TCAS Fair 2024.เทศกาล TCAS68 เริ่มแล้ว! ศิลปากรก็ไม่พลาดในการเปิดโอกาสให้น้อง ๆ ม.ปลาย 4-5-6 หรือเทียบเท่า ที่มีความสนใจอยากจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของรั้วสีเขียวเวอร์ริเดียนแห่งนี้ ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเรา .ใครที่กำลังมองหาข้อมูลหลักสูตรและรายละเอียดเกี่ยวกับการเรียนคณะต่าง ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจ สามารถมาพบกับ 14 คณะของมหาวิทยาลัยศิลปากรได้ที่งาน .Dek-D TCAS Fair 67 ณ ไบเทค บางนา (EH 98) ในวันที่ 12 และ 13 ตุลาคม 2567 นี้.ภายในงานจะมีการออกบูธจากทุกคณะของมหาวิทยาลัยศิลปากร มากันครบไม่ว่าจะเป็นอาจารย์และรุ่นพี่ พร้อมตอบคำถามแบบตัวจริงเสียงจริง ประสบการณ์จริง! ประตูบานแรกของโลก TCAS68 พร้อมต้อนรับน้อง ๆ มัธยมปลายแล้วที่นี่ .ใครอยากเป็น ทีมศิลปากร ต้องห้ามพลาด !
มหาวิทยาลัยศิลปากรได้จัด “โครงการผสานความร่วมมือและสร้างเครือข่ายวิสาหกิจมหาวิทยาลัยศิลปากร : นโยบาย ประสบการณ์ และภาคปฏิบัติของ University Holding Company” ในวันอังคารที่ 1 ตุลาคม 2567 ณ ห้องประชุมนริศรานุวัดติวงศ์ สำนักงานอธิการบดี ตลิ่งชัน โดยได้รับเกียรติจาก ศาตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ นายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ ในภาคเช้าได้รับเกียรติจากท่านวิทยากร ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้นำในด้านการส่งเสริมและขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมสู่ธุรกิจนวัตกรรมด้วย University Holding Company และคุณราเมศวร์ ศิลปพรหม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท CU Enterprise จำกัด บุคคลสำคัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เป็นผู้ลงมือปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ในส่วนของภาคบ่ายได้รับเกียรติจาก คุณมนันยา ชุณหวุฒิยานนท์ ผู้อำนวยการฝ่าย สอวช. มาบรรยายเกี่ยวกับ Legal Framework and Policy Development และการจัดตั้ง University Holding Company และ ดร.ธีรพงศ์ ยะทา CEO บริษัท นาอีฟ อินโนว่า จำกัด ซึ่งเป็น Start-up ที่ประสบความสำเร็จในการสามารถ Spin-off และเป็นคนรุ่นใหม่ในการนำความรู้และนวัตกรรมไปดำเนินการทางธุรกิจ โดยมหาวิทยาลัยให้ความสำคัญต่อการขับเคลื่อนวิสาหกิจ ธุรกิจนวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ ที่ไม่ใช่เป็นเพียงการตอบสนองต่อนโยบายภาครัฐ แต่เป็นการวางรากฐานมหาวิทยาลัยศิลปากรที่ตอบโจทย์ด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการสร้างแหล่งรายได้ใหม่ด้วยองค์ความรู้และศาสตร์ที่เป็นความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัย และได้รับเกียรติจาก ท่านรองศาสตราจารย์ ดร.สุมนต์ สกลไชย อุปนายกสภามหาวิทยาลัย มาเป็นผู้กล่าวปิดโครงการ ซึ่งจะเป็นการเชื่อมต่อการขับเคลื่อนระหว่างผู้บริหารทุกระดับกับสภามหาวิทยาลัยในการขับเคลื่อนวิสาหกิจ ธุรกิจนวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ ของมหาวิทยาลัยศิลปากรต่อไปในการนี้มหาวิทยาลัยขอขอบพระคุณท่านนายกสภามหาวิทยาลัย ท่านกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ท่านวิทยากร รองอธิการบดี คณบดี และผู้มีเกียรติทุกท่านที่ได้เข้าร่วมโครงการผสานความร่วมมือและสร้างเครือข่ายวิสาหกิจมหาวิทยาลัยศิลปากร : นโยบาย ประสบการณ์ และภาคปฏิบัติของ University Holding Company” มา ณ โอกาสนี้Silpakorn University organized "The Collaboration and Enterprise Network Building Project of Silpakorn University: Policies, Experiences, and Practices of the University Holding Company" on Tuesday, 1 October 2024, at the Naritsaranuwattiwong Meeting Room, Office of the President, Talingchan campus. The event was honored by Professor Emeritus Khunying Khaisri Sriaroon, President of the Silpakorn University Council, who presided over the opening ceremony.In the morning session, the keynote speakers were Dr. Kitipong Promwong, a distinguished expert and leader in promoting and driving research and innovation into business innovation through the University Holding Company, and Mr. Ramade Silapaprom, CEO of CU Enterprise Co., Ltd., an important figure from Chulalongkorn University who has successfully implemented practical results.In the afternoon session, Ms. Manunya Chunhavuthiyanon, Division Director of the Office of National Higher Education Science Research and Innovation Policy Council (NXPO), delivered a presentation on the Legal Framework and Policy Development and the establishment of the University Holding Company. Additionally, Dr. Teerapong Yata, CEO of Naive Innova Co., Ltd. which is a successful startup that has been able to spin off, shared his experience as a new-generation entrepreneur who utilizes knowledge and innovation to drive business.Silpakorn University emphasizes the importance of advancing enterprises, innovation businesses, and creative works, not merely in response to government policies but also in laying the foundation for Silpakorn University to meet various goals, particularly in creating new sources of revenue through the university’s expertise and knowledge. Associate Professor Dr. Sumon Sakolchai, Vice President of the Silpakorn University Council, delivered the closing remarks, highlighting the connection between all levels of university executives and the university council in advancing Silpakorn University’s enterprises, innovation businesses, and creative works.Silpakorn University would like to express its gratitude to the President of the Silpakorn University Council, the distinguished council members, keynote speakers, Vice Presidents, Deans, and all honored guests who participated in “The Collaboration and Enterprise Network Building Project of Silpakorn University: Policies, Experiences, and Practices of the University Holding Company”.大学组织了“整合合作并建立泰国艺术大学企业网络的项目:大学控股公司的政策、经验和实践”,2024 年 10 月 1 日星期二,Naritsaranuwattiwong 会议室。总统办公室,陈大林,荣誉泰国艺术大学理事会主席 Khaisri Sriaroon 名誉教授主持项目开工仪式在上午的会议上,我们荣幸地邀请到了演讲嘉宾 Kitipong Promwong 博士,他是大学控股公司促进和推动创新业务研究和创新的专家和领导者,以及 CU Enterprise Company Limited 首席执行官 Ramade Silapaprom 先生。朱拉隆功大学重要人物谁采取行动产生具体成果下午,我们受到了Manunya Chunhavuthiyanon 女士的招待。 NSTDA主任来就法律框架和政策制定以及公司设立进行讲座。 University Holding 和 Naif Innova Company Limited 首席执行官 Teerapong Yata 博士(该公司可以分拆为新公司)。申请人版本知识和创新对业务运营的影响学校重视带动企业。创新业务和创意工作这不仅仅是对政府政策的回应。但泰国艺术大学的基础是满足各种需求,特别是利用大学的专业知识和科学创造新的收入来源。并获得荣誉副教授Sumon Sakolchai 博士,大学理事会副主席成为项目闭幕演讲嘉宾这将成为各级管理人员和大学理事会之间推动企业发展的驱动性联系。创新业务和创意工作接下来是泰国艺术大学对此,大学要感谢大学理事会主席。大学理事会的高素质成员、讲师、副校长、院长以及所有参与该项目的尊贵人士,以整合合作并创建泰国艺术大学企业网络:大学控股公司的政策、经验和做法”值此之际
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) พร้อมด้วย หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และสถานศึกษา รวม 21 หน่วยงาน ประกอบไปด้วย มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น มหาวิทยาลัยนครพนม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยทักษิณ มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทยมูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน มูลนิธิภูมิปัญญาชาติพันธุ์ สมาคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ โดย ศาสตราจารย์ ดร.ภก.ธนะเศรษฐ์ ง้าวหิรัญพัฒน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์มุจรินทร์ อิทธิพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการวิชาศึกษาทั่วไปฯ ได้เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือด้านการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ทางดิจิทัลได้อย่างหลากหลาย เท่าเทียม และรู้ทันในวันอังคารที่ 1 ตุลาคม 2567 ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น หลักสี่ กรุงเทพมหานคร
มหาวิทยาลัยศิลปากร ฉลองครบรอบ 81 ปี มุ่งมั่นเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งการสร้างสรรค์ บูรณาการศาสตร์และศิลป์เพื่อสังคมอย่างยั่งยืนมหาวิทยาลัยศิลปากรขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยศิลปากร ประจำปี พ.ศ. 2567 เนื่องในโอกาสครบรอบ 81 ปี ของการก่อตั้งมหาวิทยาลัย ในวันที่ 12 ตุลาคม 2567 โดยมีกำหนดจัดงานใน 3 วัน 3 วิทยาเขต ระหว่างวันที่ 10-12 ตุลาคม 2567 ดังนี้กำหนดการจัดงานวันคล้ายวันสถาปนา ประจำปี พ.ศ. 2567วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เวลา 08.45 - 16.00 น.09.00 น.พิธีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และพระพิฆเนศวรประจำมหาวิทยาลัยศิลปากรณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี10.00 น. พิธีทำบุญวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยศิลปากรณ ห้องศิลป์เพชร ชั้น 2 อาคารกิจกรรมและนันทนาการ14.00 น. Big Cleaning Dayวันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม 2567ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม เวลา 07.30 – 16.00 น.07.30 น. พิธีบวงสรวงและสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำมหาวิทยาลัยศิลปากรณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ 08.30 น. พิธีทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งแด่พระสงฆ์ ๑๐ รูปณ หน้าอาคารสำนักงานอธิการบดี ม.ศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์09.30 น. กิจกรรมปลูกต้นไม้ ณ อาคารศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา13.00 น. กีฬาเชื่อมความสัมพันธ์บุคลากรพระราชวังสนามจันทร์ ณ อาคารเพชรรัตน - สุวัทนา พระราชวังสนามจันทร์วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม 2567ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯเวลา 08.09 - 12.00 น.08.09 น. พิธีบวงสรวงและสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ09.30 น. พิธีสงฆ์พิธีบำเพ็ญกุศลเพื่อถวายพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์พิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศ แด่ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธนศาสตราจารย์ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลศาสตราจารย์ พลเอก หลวงรณสิทธิพิชัยและศาสตราจารย์ธนิต อยู่โพธิ์ผู้มีอุปการคุณต่อมหาวิทยาลัยศิลปากร ณ ท้องพระโรง วังท่าพระ10.30 น. พิธีเปิดงานวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยศิลปากรโดย อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากรพิธีมอบทุนการศึกษา จาก ทายาทศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุลพิธีมอบของที่ระลึกให้แก่ ผู้ทำคุณประโยชน์ ผู้มีอุปการคุณ ผู้ทำชื่อเสียง บุคลากรดีเด่นพิธีมอบเกียรติบัตรแก่นักศึกษาเก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยศิลปากรณ หอประชุม (ห้อง 304) วังท่าพระ
มหาวิทยาลัยศิลปากร ประกาศเจตนารมณ์ลดก๊าซเรือนกระจกในมหาวิทยาลัย ณ วันที่ 19 กันยายน 2567 โดยมีเป้าหมาย คือก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี ค.ศ.2039การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ.2065ผ่านความร่วมมือจาก นักศึกษา คณาจารย์และพนักงาน ตลอดจนเครือข่ายความร่วมมือจากภายนอก ภายใต้ กลยุทธ์ในการดำเนินงานตามเป้าหมาย ดังนี้Community engagement towards lifestyle changeRenewable energy mixGreen innovationDigital transformation
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ นายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร มอบเกียรติบัตรศิลปากรสร้างสรรค์สำหรับผู้ได้รับรางวัลและสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยศิลปากร (ระดับนานาชาติ) ในการประชุมสภา ครั้งที่ 9/2567 วันที่ 18 กันยายน 2567 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมนริศรานุวัดติวงศ์ สำนักงานอธิการบดี ตลิ่งชัน ดังนี้1. อาจารย์กวิศรา พรายมี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร - ได้รับรางวัล Best Paper Award ผลงานชื่อ Trends in Sem Utilization and Reporting Practices in Thai Business Research (2020-2024): A Systematic Literature Review ในการประชุมทาง วิชาการระดับนานาชาติ 23rd International Social Sciences and Business Research Conference (Online) เมื่อวันที่ 20-23 มิถุนายน 2567 จัดโดย White Tiger Legal Business and Research Consultants Co., Ltd.2. อาจารย์ณัฐวัชร เทียมทัด คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร - ได้รับรางวัล Best Paper Award ผลงานชื่อ Trends in Sem Utilization and Reporting Practices in Thai Business Research (2020-2024): A Systematic Literature Review ในการประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติ 23rd International Social Sciences and Business Research Conference (Online) เมื่อวันที่ 20-23 มิถุนายน 2567 จัดโดย White Tiger Legal Business and Research Consultants Co., Ltd.3. อาจารย์ธีรวุฒิ คำอ่อน คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ - ได้รับรางวัล Honorary Work Award ผลงานชื่อ Dressing Table ในการประกวดผลงานภาพพิมพ์นานาชาติ The 8th Guanlan International Print Biennial 2023 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566 จัดโดย China Guanlan Original Printmaking Base4. ศาสตราจารย์ (ขั้นสูง) ดร.บุษบา กนกศิลปธรรม คณะวิทยาการจัดการ - ได้รับเชิญเป็น Keynote Speaker หัวข้อ Riding the Hurdles of Language Instruction in Thailand to Foster Global Resilience ในการประชุมทางวิชาการ The 7th International Conference on Applied Liberal Arts (ICAA 2024) เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2567 จัดโดย คณะศิลปศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง - ได้รับเชิญเป็น Keynote Speaker หัวข้อ Cultural identity associated with tourist attractions for sustainable cultural tourism in northern Thailand ในการประชุมทางวิชาการ The 2024 3rd International Conference on Social Sciences and Humanities and Arts (SSHA 2024) (ออนไลน์)เมื่อวันที่ 8-10 มีนาคม 2567 จัดโดย Academic Exchange Information Center - ได้รับเชิญเป็น Keynote Speaker หัวข้อ Enhancing Scholarly Writing: Using Genre Analysis to Demystify the Conclusion Section ในการประชุมทางวิชาการ The 8th International Conference on Research in Teaching and Education (RTECONF) (ออนไลน์) เมื่อวันที่ 1-3 มีนาคม 2567 จัดโดย International Conference on Research in Teaching and Education - ได้รับเชิญเป็น Conference Chair และ Session Chair ในการประชุมทางวิชาการ The 2024 11th International Conference on Linguistics, Literature and Arts (ICLLA 2024) เมื่อวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2567 จัดโดย Silpakorn University และ International Conference on Linguistics, Literature and Arts International Economics Development Research Center (IEDRC)5. รองศาสตราจารย์เอกพงษ์ ตรีตรง คณะมัณฑนศิลป์ - ได้รับรางวัล Best New Small Hotel Construction & Design Thailand ผลงานชื่อ Rachata@Ayothaya (Ideal 1 Co.,Ltd.) ในโครงการ Asia Pacific Hotel Awards in association with GROHE 2024-2025 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 จัดโดย GROHE & International Property Awards - ได้รับรางวัล Best Office Development Thailand ผลงานชื่อ Yeong Guan Heavy Industry (Thailand) (Ideal 1 Co.,Ltd.) ในโครงการ Asia Pacific Property Awards Development in association with American Standard 2024-2025 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 จัดโดย GROHE & International Property Awards
โครงการคันธรรพวาทีศรีสนามจันทร์ ครั้งที่ 7 สังคีตาศิลปากรขอเชิญเข้าชมการแสดงเดี่ยวดนตรีไทย ของนักศึกษาชั้นปีที่4 สาขาสังคีตศิลป์ไทยวันพฤหัสที่ 3 ตุลาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 16:30 น. เป็นต้นไปณ ห้องประชุมหม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ อาคาร 36 ปีคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์สาขาวิชานาฏยสังคีต ภาควิชานาฏยสังคีต คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2567 มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพ ได้จัดงานวันศิลป์ พีระศรี ประจำปี 2567 เนื่องในโอกาส 132 ปี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ผู้มีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานศิลปะสมัยใหม่ของไทย ภายในงานมีการจัดกิจกรรมหลากหลายตลอดทั้งวัน ท่ามกลางบรรยากาศที่อบอวลไปด้วยความเคารพและรำลึกถึงคุณูปการของท่านเริ่มต้นกิจกรรมในเวลา 7.00 น. ด้วยพิธีตักบาตรพระสงฆ์จำนวน 10 รูป ณ ลานอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวนมากสร้างบรรยากาศที่สงบเรียบร้อย แสดงถึงความเคารพในบุคคลผู้เป็นเสาหลักแห่งวงการศิลปะของไทยในช่วงสาย เวลา 09.30 น. นายชวน หลีกภัย ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน พร้อมมอบเหรียญเกียรติคุณศิลป์ พีระศรี และเกียรติบัตร แก่ผู้แสดงปาฐกถาศิลป์ พีระศรี ประจำปี 2567ศิลปินผู้ได้รับทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม ศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ 23 ประจำปี 2567ก่อนจะมีพิธีวางดอกไม้และ Art Set เพื่อรำลึกถึงศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ซึ่งเป็นผู้วางรากฐานการศึกษาด้านศิลปะร่วมสมัยของไทย ทั้งนี้มหาวิทยาลัยศิลปากรได้รับเกียรติจากคุณชวน หลีกภัย เป็นประธานเปิดการแสดงนิทรรศการทางศิลปะของคณะวิชาและหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปะที่หลากหลายและสะท้อนถึงความร่วมมือระหว่างนักศึกษาและคณาจารย์ เวลา 11.00 น. ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยศิลปากร มีการจัดการแสดงปาฐกถาศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ 29 โดยมีนายทวี รัชนีกร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปี 2548 เป็นผู้บรรยายภายใต้หัวข้อ ผลิลานศิลป์ ถิ่นอีสาน: ทวี รัชนีกร สร้างความประทับใจให้กับผู้เข้าร่วมงานด้วยเนื้อหาที่สื่อถึงความเชื่อมโยงระหว่างศิลปะและวัฒนธรรมในภาคอีสานของประเทศไทย ในฐานะที่ท่าน เป็นลูกศิษย์ที่ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มอบหมายให้ไปบุกเบิกการเรียนการสอนศิลปะร่วมสมัย ยังแดนอีสาน และได้รับการยกย่องให้เป็น ศิลปินรากแก้วอีสานในช่วงบ่าย มีการแสดงดนตรีจากคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เพิ่มสีสันและสร้างความเพลิดเพลินให้กับผู้เข้าร่วมงาน ท่ามกลางบรรยากาศที่เป็นกันเองและรื่นเริงนอกจากนี้ ยังมีการออกร้านค้า ร้านอาหาร ของที่ระลึก รวมถึงการแสดงดนตรีจากนักศึกษาและศิลปิน ที่จัดขึ้นบริเวณสนามบาสเกตบอลและสวนแก้ว สร้างความคึกคักและความประทับใจแก่ผู้เข้าร่วมงานตลอดทั้งวันในช่วงค่ำ เมื่อเวลา 19.00 น. มีพิธีรำลึกถึงศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ด้วยการจุดเทียนและร้องเพลง Santa Lucia เพลงประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งสร้างบรรยากาศที่สงบและเต็มไปด้วยความเคารพน้อมรำลึกถึงศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บุคคลผู้ทิ้งมรดกทางศิลปะไว้ให้ประเทศไทยอย่างยั่งยืน นิทรรศการของคณะวิชาและหน่วยงานต่าง ๆ- คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์นิทรรศการศิลปกรรมอาจารย์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ ครั้งที่ 41ณ หอศิลป์ PSG Art Gallery คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ (ม.ศิลปากร วังท่าพระ)จัดแสดงระหว่างวันที่ 15 กันยายน - 25 ตุลาคม 2567วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 10.00 – 16.30 น. (หยุดวันเสาร์ – อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์)- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์นิทรรศการ สถาปัตย์ปริวรรต 2567ณ หอศิลปะสถาปัตยกรรมพระพรหมพิจิตร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จัดแสดงระหว่างวันที่ 15 - 30 กันยายน 2567- คณะมัณฑนศิลป์นิทรรศการ SILPA Creative Works Exhibition 2024ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์จัดแสดงระหว่างวันที่ 15 - 30 กันยายน 2567 วันจันทร์ - เสาร์ เวลา 10.00 – 17.00 น. (ยกเว้นวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์)- นิทรรศการประกอบการแสดงปาฐกถาศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ 29 ประจำปี พ.ศ. 2567 หัวข้อ ผลิลานศิลป์ ถิ่นอีสาน : ทวี รัชนีกรณ โถงล่าง หอประชุม มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระจัดแสดงระหว่างวันที่ 15 - 20 กันยายน 2567 เวลา 8.30 - 16.30 น.- สำนักศิลปวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์แห่งมหาวิทยาลัยศิลปากรนิทรรศการโครงการทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม ศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ 23ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระจัดแสดงระหว่างวันที่ 15 กันยายน – 16 พฤศจิกายน 2567วันจันทร์ - เสาร์ เวลา 9.00 – 18.00 น. (ยกเว้นวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์)- นิทรรศการ แสงสานศิลป์ The Light of Artistic Lifeโดยศาสตราจารย์เกียรติคุณปรีชา เถาทองณ สำนักหอสมุดกลาง วังท่าพระจัดแสดงระหว่างวันที่ 15 กันยายน – 16 พฤศจิกายน 2567วันจันทร์ - เสาร์ เวลา 9.00 - 18.00 น. (ยกเว้นวันอาทิตย์และวันหยุดราชการ)โดยสามารถรับชมภาพบรรยากาศ และ Live ช่วงพิธีการและการแสดงปาฐกถาศิลป์ย้อนหลังได้ทาง Facebook : Silpakorn University
มหาวิทยาลัยศิลปากร ขอแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ ดร.รัศมี ชูทรงเดช อาจารย์ประจำ ภาควิชาโบราณคดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เนื่องในโอกาสเข้ารับพระราชทานเกียรติบัตรและโล่พระราชทาน เมธีวิจัยอาวุโส วช. ประจำปี 2567 ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเกียรติบัตรและโล่พระราชทานเมธีวิจัยอาวุโส ให้กับนักวิจัยที่ได้รับรางวัล เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมเซนทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซนเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ
มหาวิทยาลัยศิลปากร ขอแสดงความยินดี แด่ศาสตราจารย์เกียรติคุณกัญญา เจริญศุภกุลในโอกาสได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สื่อผสม) ประจำปีพุทธศักราช 2566รองศาสตราจารย์บรรจง โกศัลวัฒน์ศิษย์เก่าคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ในโอกาสได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์) ประจำปีพุทธศักราช 2566และผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2566 จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) กระทรวงวัฒนธรรม ทุกท่าน
โครงการการเรียนรู้ด้านภาษา สังคม และศิลปวัฒนธรรมไทยสำหรับชาวต่างชาติ “Exchange - Exploration - Excursion - Experience - Expertise at SUMS.”เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2567 ฝ่ายจัดการศึกษา คณะวิทยาการจัดการ นำนักศึกษาต่างชาติจาก Universiti Brunei Darussalam และนักศึกษาไทย/ ร่วมกิจกรรมทำเทียนหอม ณ บ้านหอมเทียน อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี โดยนักศึกษาได้มีโอกาสทำเทียนหอมตามจินตนาการของตนเองอย่างสร้างสรรค์ และสามารถนำเทียนที่เป็นงานฝีมือของตนเองกลับไปเป็นของที่ระลึกได้ นอกจากนี้นักศึกษายังได้เยี่ยมชมตลาดโอ๊ะป่อย ซึ่งก่อตั้งขึ้นด้วยการสนับสนุนจากชุมชนและภาครัฐเพื่อส่งเสริมความยั่งยืน ตลาดแห่งนี้ปฏิบัติตามนโยบาย Zero Waste โดยห้ามใช้โฟมและพลาสติก และเชิดชูวัฒนธรรมท้องถิ่นผ่านอาหารหัตถกรรม และเครื่องแต่งกายพื้นเมืองท้องถิ่น On 17th August 2024, the Educational Management Division led international students from Universiti Brunei Darussalam and Thai students who participated as language partners in a workshop on candle-making at Bann Hom Tien, Suan Phueng, Ratchaburi Province. The students had the opportunity to create beautiful and scented candles that could be decorated according to their creativity, and they were able to take their handmade candles home as souvenirs. In addition, the students visited Oh-Poi Market, which was established with community and government support to promote sustainability. The market follows a Zero Waste policy, banning foam and plastic, and celebrates local culture through local foods, crafts, and traditional clothing.https://www.facebook.com/mssilpakornhttps://www.facebook.com/mssilpakorn
ผลิลานศิลป์ ถิ่นอีสาน : ทวี รัชนีกร - ปาฐกถาศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ 29 ประจำปี 2567มหาวิทยาลัยศิลปากรขอเชิญท่านผู้สนใจเข้าร่วมงานผลิลานศิลป์ ถิ่นอีสาน : ทวี รัชนีกรปาฐกถาศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ 29 ประจำปี 256715 ก.ย. 67 ร่วมเสพงานศิลป์จากงานอาร์ต พร้อมรับฟังเรื่องราวประสบการณ์ชีวิต 90 ปี ของ “ทวี รัชนีกร” ในการแสดงปาฐกถาศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ 29 หัวข้อ“ผลิลานศิลป์ ถิ่นอีสาน : ทวี รัชนีกร” ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ และรับชมนิทรรศการผลงานศิลปะ จาก อาจารย์ทวี รัชนีกร บริเวณโถงชั้นล่าง หอประชุม มหาวิทยาลัยศิลปากร ตั้งแต่วันที่ 15 – 20 ก.ย. 67มศก. จัดการแสดงปาฐกถาศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ 29 ประจำปี 2567 โดยในปีนี้ “นายทวี รัชนีกร” ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปี 2548 ได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้เป็นผู้แสดงปาฐกถาศิลป์ พีระศรี ในหัวข้อ “ผลิลานศิลป์ ถิ่นอีสาน : ทวี รัชนีกร” ในวันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2567 เวลา 11.00 น. ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ พร้อมจัดแสดงนิทรรศการประกอบการแสดงปาฐกถาศิลป์ พีระศรี (ผู้เข้าร่วมฟังจะได้รับสูจิบัตรการแสดงปาฐกถาศิลป์ พีระศรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย)อาจารย์ทวี รัชนีกร ปัจจุบันอายุ 90 ปี เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2477 ที่จังหวัดราชบุรี เริ่มต้นเรียนศิลปะที่โรงเรียนเพาะช่าง และสำเร็จการศึกษาปริญญาศิลปบัณฑิต สาขาจิตรกรรม คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ท่านเป็นศิษย์เอกของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี อีกท่านหนึ่งที่ท่านได้ถ่ายทอดอรรถรสปรัชญาผสานศิลป์ด้วยการกระทำและคำพูด ด้วยความนับถือเคารพรักศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ซึ่งเปรียบเสมือน “พ่อ” ที่ อาจารย์ทวี รัชนีกร น้อมรับและเดินตามรอยพ่อ เพื่อบ่มเพาะลูกศิษย์ให้มีคุณภาพทั่วแดนอีสาน สร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักในด้านทักษะและความคิดสร้างสรรค์ ท่านจึงเป็น “ปรมาจารย์ศิลปะชั้นครูของเมืองไทย”อาจารย์ทวี รัชนีกร เป็นศิลปินอาวุโสที่มีความมุ่งมั่นและทุ่มเทให้กับศาสตร์แห่งศิลป์มาอย่างยาวนาน สร้างสรรค์ผลงานสะท้อนปัญหาทางสังคม การเมือง วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ผ่านการทำงานในหลากหลายรูปแบบทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม และสื่อผสม ท่านได้รับรางวัลและการยกย่องในด้านต่าง ๆ มากมาย อาทิ รางวัลจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ รางวัลศิลปินยอดเยี่ยมทุนสร้างสรรค์ศิลป์ พีระศรี รางวัลเชิดชูเกียรติมนัส เศียรสิงห์ “แดง” สาขาทัศนศิลป์ดีเด่น ศิลปินมรดกอีสาน สาขาทัศนศิลป์ (ทัศนศิลป์ร่วมสมัย) ประจำปี พ.ศ.2554 นักศิลปินดีเด่นของจังหวัดนครราชสีมา ศิลปินแห่งชาติ (สาขาทัศนศิลป์) จิตรกรรม ประจำปี พ.ศ.2548 ฯลฯอาจารย์ทวี รัชนีกร ทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่างด้วยความรัก เนื่องจากผูกพันกับลูกศิษย์ มีความรักความศรัทธาในจิตวิญญาณความเป็นครูของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ผู้เป็นแบบอย่างของความมุ่งมั่นในการสอน เพื่อให้ลูกศิษย์เป็นศิลปิน นอกจากนี้ ด้วยจิตวิญญาณ ความรัก และความทุ่มเทให้กับงานด้านศิลปะ อาจารย์ทวี รัชนีกร จึงได้สร้าง “หอศิลป์ทวี รัชนีกร” ขึ้น เพื่อจัดแสดงผลงานของตนเอง และของเพื่อนศิลปินด้วยกัน รวมทั้งยังมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้อีกด้วย เช่น การประกวดวาดภาพ การเสวนา หรือการบรรยายงานศิลปะ อาจารย์ทวี รัชนีกร กล่าวไว้ว่า “การสร้างสรรค์ศิลปะ ไม่ควรจำกัดอยู่แค่เพียงการวาดรูป หรือทำประติมากรรม การสร้างหอศิลป์ เป็นหน้าที่หนึ่งของศิลปินที่ให้อะไรกับสังคม หวังว่าหอศิลป์นี้จะเป็นประโยชน์ทั้งกับนักเรียน นักศึกษา และประชาชน”
15 กันยายน 2567132 ปีศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี : ชาวศิลปากรรวมพลังน้อมรำลึกในคุณูปการศาสตราจารย์ศิลป์พีระศรีผู้วางรากฐานศิลปะสมัยใหม่ของไทยและผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นประจำทุกปีของวันที่ 15 กันยายนมหาวิทยาลัยศิลปากรจัดงานวันศิลป์พีระศรีเพื่อระลึกถึงศาสตราจารย์ศิลป์พีระศรีผู้อุทิศชีวิตทั้งชีวิตให้แก่วงการศิลปะ และวางรากฐานการศึกษาด้านศิลปะร่วมสมัยของไทยอย่างแท้จริงพวกเรายกย่องให้ศาสตราจารย์ศิลป์พีระศรีเป็น “บิดาแห่งศิลปร่วมสมัยของไทย” มหาวิทยาลัยศิลปากรร่วมกับกรมศิลปากรสมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยศิลปากรและองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรร่วมแรงร่วมใจกันจัดงานวันศิลป์พีระศรีขึ้นตรงกับวันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2567 ด้วยความรักความผูกพันและความศรัทธาที่มีอยู่ในใจของลูกศิษย์ท่านไม่รู้ลืมโดยนายชวน หลีกภัยอดีตนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงานวันศิลป์ พีระศรี ณลานอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป์พีระศรีมหาวิทยาลัยศิลปากรวังท่าพระกรุงเทพฯภายในงานประกอบด้วยพิธีทำบุญตักบาตรพิธีมอบทุนสร้างสรรค์ศิลป์พีระศรีพิธีมอบรางวัลศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์และสำหรับการวางกระเช้าดอกไม้เพื่อคารวะศาสตราจารย์ศิลป์พีระศรีในปีนี้มหาวิทยาลัยศิลปากรขอความร่วมมือหน่วยงานภายในจัดเตรียมกระเช้าอุปกรณ์สร้างสรรค์งานศิลปะ ภายหลังจากเสร็จสิ้นงานมหาวิทยาลัยฯจะนำไปมอบให้แก่สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาต่อไปและอีกหนึ่งกิจกรรมที่เป็นไฮไลท์ของการจัดงานครั้งนี้ “การแสดงปาฐกถาศิลป์พีระศรี” ในหัวข้อ “ผลิลานศิลป์ถิ่นอีสาน : ทวีรัชนีกร” ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปีพ.ศ.2548 พิธีจุดเทียนรำลึกถึงศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ในเวลา 19.00 น. การแสดงดนตรีการออกร้านจำหน่ายผลงานของนักศึกษาและกิจกรรมบันเทิงต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการศิลปะที่น่าสนใจณหอศิลป์คณะวิชาต่างๆและหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากรรวมทั้งสำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยศิลปากรวังท่าพระหมายเหตุ : การจัดงานวันศิลป์พีระศรีประจำปี 2567 ตามวิทยาเขตต่างๆดังนี้มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์จังหวัดนครปฐม ระหว่างวันที่ 13 – 14 กันยายน 2567มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีจังหวัดเพชรบุรีและมหาวิทยาลัยศิลปากรส่วนขยายการศึกษาเมืองทองธานีวันที่ 13 กันยายน 2567ข้อมูลเพิ่มเติม Facebook : Silpakorn University_____________________________________________________________________________________________2024年 9月 15日132年 Prof. Silpa Bhirasri …………………. 每年 9月15日,泰国艺术大学会给 Silpa Bhirasri 教授举办纪念日,以纪念毕生奉献的艺术 Silpa Bhirasri 教授。为艺术界奠定真正的泰国现代艺术教育基础,我们尊称 Silpa Bhirasri 教授为 “泰国现代艺术之父”。 在 2024 年,如 Silpa Bhirasri 教授还生存下去,他将 132 岁。虽然他已经离世很长时间了,但是我们仍然会永远怀念 “ 艺术长寿、生命短寿。” 泰国艺术大学与美术系一起,泰国艺术大学校友会和泰国艺术大学学生组织合作举办了此次活动。锡尔普·皮拉斯里日(Silpa Bhirasri Day)于 2024年9月15日(星期日)举行,以爱、承诺和信念为基础,使学生心中永生难忘。前总理川·立派先生荣幸地在曼谷 Wang Tha Phra 泰国艺术大学 Silpa Bhirasri 教授纪念碑广场主持 Silpa Bhirasri 纪念日开幕仪式。该活动包括功德仪式和向僧侣布施。 以及放置花篮的地方,今年向 泰国艺术大学 Silpa Bhirasri 教授致敬,请求内部部门配合准备一篮子艺术创作工具。 工作完成后,大学将把它交给二级教育机构。 而另一项活动则是本次活动的一大亮点。 “Silp Bhirasri 讲座表演” 主题为 “美术盛开,东北地区:Thawee Ratchaneekorn”国家艺术家 视觉艺术系(绘画),2005年,纪念Silpa Bhirasri教授的烛光仪式,音乐表演,售卖学生作品的摊位。 以及各种娱乐活动。 此外,各院系美术管亦有令人兴奋的展览。包括泰国艺术大学的中央图书馆 (Wang Tha Phra)。_____________________________________________________________________________________________15th September 2024132nd Years of Professor Silpa Bhirasri.........................Every year on the 15th of September, Silpakorn University hosts Silpa Bhirasri Day to commemorate Professor Silpa Bhirasri who dedicated his entire life to the art world and truly laid the foundation for the study of contemporary art in Thailand. We honor Professor Silpa Bhirasri as the “Father of Contemporary Art in Thailand”. As of 2024, Professor Silpa Bhirasri would be 132 years old if he were still living. We shall always remember him even though he has been gone from us for a very long time. "Life is short, art is long."With the eternal love, devotion, and faith in the hearts of Professor Silpa Bhirasri’s disciples, Silpakorn University, together with the Fine Arts Department, the Silpakorn University Alumni Association, and the Student Organization of Silpakorn University have joined forces to organize the Silpa Bhirasri Day on Sunday, 15th September 2024. Mr. Chuan Leekpai, a former Prime Minister, will preside over the opening ceremony of Silpa Bhirasri Day at the Silpa Bhirasri Monument located at Silpakorn University, Wang Tha Phra in Bangkok. The event includes alms-giving ceremony and the laying of flower baskets to pay homage to Professor Silpa Bhirasri. This year, Silpakorn University would like to ask for cooperation from internal departments to prepare baskets of art equipment that will later be delivered to secondary schools after the event is over. Other highlights of the event are the Silpa Bhirasri Special Lecture on the topic of “Blooming Arts, Northeastern Isaan” by Mr. Thawi Ratchaneekorn, Thailand’s 2005 National Artist in Visual Arts (Painting), a candle-lighting ceremony to commemorate Professor Silpa Bhirasri, musical performances, booths selling student works and various entertainment activities. Moreover, there are interesting art exhibitions at the Faculty Art Gallery and Art Centre of Silpakorn University, including the Central Library of Silpakorn University, Wang Tha Phra.
พร้อมหรือยังสำหรับการเข้าชม Visible Gallery คลังสะสมศิลปกรรม มศก. 3 วันเท่านั้น! ในงานทับแก้ววิชาการ ตั้งแต่วันที่ 26-28 ส.ค. 67 พร้อมกิจกรรม workshopในพื้นที่ตั้งแต่เวลา 10.00 น.-16.00 น. (มีรอบนำชมพิเศษในเวลา 13.30 น.)มหาวิทยาลัยศิลปากรได้สะสมผลงานศิลปกรรมจากการประกวดศิลปกรรมระดับชาติซึ่งมหาวิทยาลัยเป็นผู้จัด โดยมีผลงานรางวัลจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติตั้งแต่ครั้งที่ 15 ถึงปัจจุบัน ผลงานรางวัลจากการแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ตั้งแต่ครั้งที่ 1 ถึงปัจจุบัน ซึ่งหอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นผู้ดูแลรักษาผลงานและแสดงภายใต้รูปแบบของ “คลังสะสมแบบเปิด” ซึ่งเป็นการจัดแสดงผลงานศิลปกรรมในรูปแบบของพื้นที่จัดเก็บผลงานที่เปิดให้ผู้ชมสามารถเข้าชมได้ เป็นการเผยแพร่ผลงานศิลปกรรมเพื่อประโยชน์ในการศึกษาศิลปะและเรียนรู้ถึงพัฒนาการศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัยของไทยจากเวทีการแสดงศิลปกรรมหลักของประเทศณ Visible Storage Gallery ชั้น 2 หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐมแผนที่: https://maps.app.goo.gl/dqC345jzmv8oPg8D6----------------For the open house of Silpakorn University, our visible storage will be specially open from 26 to 28 August, 10 am to 4 pm (gallery tour with our docent is at 1.30 pm daily).Visible Storage Gallery is located at Sanamchandra Art Gallery in Nakorn Pathom.https://maps.app.goo.gl/dqC345jzmv8oPg8D6
ครั้งแรก! ของคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ฉลองครบรอบการก่อตั้ง 25 ปี ด้วยละครเพลงเต็มรูปแบบเรื่อง Returning Feroci The Musical รีบกลับเถอะครับจารย์ เดอะมิวสิคัล.จะเกิดอะไรขึ้นถ้า คอร์ราโด เฟโรชี มาไม่ถึงสยามเมื่อปี 2466 ผลงานต่างๆ ของอาจารย์ศิลป์ กำลังจะหายไป ผู้คนเริ่มจำไม่ได้ ว่าศิลป์ พีระศรีคือใคร และนั่นหมายถึง มหาวิทยาลัยศิลปากรกำลังจะหายไปตลอดกาล ตุ่นและเพื่อนๆ จะต้องทำทุกวิถีทาง เพื่อส่งคอร์ราโด เฟโรชี หรืออาจารย์ศิลป์ กลับไปในสยามปี 2466 ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป.ครั้งแรกกับละครเพลงของ เฟิด คาริญญ์วัฒ ดุรงค์จิรกานต์ (เฟิด Slot Machine) ในบท คอร์ราโด เฟโรชี (ศิลป์ พีระศรี) ป๊อปเป้อ พิณญาดา จึงกาญจนา (Popper BNK/Qrra) และ วริศ คงสุวรรณ (Varis).ห้ามพลาด!!! - พุธที่ 21 สิงหาคม 2567 เวลา 19.00 น.- พฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม 2567 เวลา 19.00 น..ราคาบัตร: 3,000 / 2,500 / 2,000 / 1,500 / 1,000 ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศจองบัตรได้ที่ https://www.thaiticketmajor.com/.../returning-feroci-the...สามารถรับบัตรแข็งที่ระลึกได้หน้าเคาเตอร์ไทยทิกเก็ตเมเจอร์ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2567 หรือหน้างานตามรอบการแสดง.พิเศษ!! เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ชาวมหาวิทยาลัยศิลปากรราคาบัตร: 250 บาท สำรองที่นั่งได้ที่https://forms.gle/jFzPwku6hPvmonR38สามารถรับบัตรแข็งที่ระลึกได้ที่หน้างานตามรอบการแสดงสอบถามเพิ่มเติม https://lin.ee/B7UyAhK#returningferocithemusical #returningferoci #รีบกลับเถอะครับจารย์ #คณะดุริยางคศาสตร์ศิลปากร #คณะดุริยางคศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร #silpakornmusic #ดุริยางค์ศิลปากร #sumusic #25ปีดุริยางคศาสตร์ศิลปากรhttps://www.facebook.com/silpakornmusic
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2567 เวลา 16.30 น. อาจารย์ ดร.ภวพล คงชุม รองอธิการบดีเพชรบุรี พร้อมด้วยผู้บริหาร ให้การต้อนรับศาสตราจารย์ ดร.สนิท อักษรแก้ว นางดวงสมร วรฤทธิ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ และศาสตราจารย์ ดร.ภก.ธนะเศรษฐ์ ง้าวหิรัญพัฒน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ในโอกาสที่เดินทางมาเยี่ยมชมวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี และเข้าสักการะพระคเณศประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร เยี่ยมชมการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและนวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะฯ โดยเริ่มจากหน่วยการเรียนรู้แพะแกะเพื่อสร้างอาชีพ รวมทั้งหน่วยเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักด้วยแก้ว BIO PBS หน่วยเรียนรู้การเลี้ยงสัตว์น้ำร่วมกับการปลูกพืชด้วยระบบอควาโปนิกส์ อีกทั้ง เยี่ยมชมและอุดหนุนสินค้าร้าน SU Refill Shop ณ อาคารกิจกรรมและนันทนาการ และช่วงเย็นศาสตราจารย์ ดร.ภก.ธนะเศรษฐ์ ง้าวหิรัญพัฒน์ อธิการบดี เป็นประธานเปิดงาน Freshy Games 2024 : The Fantasia Games จัดโดยองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ซึ่งได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์ ดร.สนิท อักษรแก้ว นางดวงสมร วรฤทธิ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ได้มอบถ้วยรางวัลให้กับผู้ที่ชนะการแข่งขันกีฬาในประเภทต่างๆ ณ บริเวณด้านหน้าอาคารพลศึกษา
ศูนย์กิจการต่างประเทศร่วมกับวิทยาลัยนานาชาติ นำโดยอาจารย์ ดร.ปริญญา หรุ่นโพธิ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดาวดี จันทร์ภิวัฒน์ รองคณบดีวิทยาลัยนานาชาติฝ่ายวางแผนและพัฒนาจัดโครงการ Silpakorn International Summer Course 2024 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีให้แก่นักศึกษาต่างชาติ รวมถึงเป็นการส่งเสริมการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยศิลปากรให้เป็นที่รู้จักในระดับสากลตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีนักศึกษาต่างชาติ จำนวน 51 คน อาจารย์ต่างชาติ จำนวน 5 คน จากสหราชอาณาจักร สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และสาธารณรัฐอินเดีย เข้าร่วมกิจกรรม Field Trip ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม 2567
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จัดงานทับแก้ววิชาการ ครั้งที่ 9 : SU GREEN FOR ALL***พบกับกิจกรรม***- การประชาสัมพันธ์หลักสูตรของคณะวิชา ทั้ง 14 คณะวิชา ให้ความรู้เรื่องระบบการรับสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษาใน มหาวิทยาลัยศิลปากร ระดับปริญญาบัณฑิต (SU-TCAS)-เปิดบ้านจากทุกคณะวิชาในวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ และเยี่ยมชมบูท คณะสถาปัตย์/คณะสัตวศาสตร์ฯ/คณะวิทยาการจัดการคณะเทคโนโลยีสารสนเทศฯ /วิทยาลัยนานาชาติ-ชมคลังสะสมศิลปกรรมมหาวิทยาลัยศิลปากร-กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการทางศิลปะ (Workshop)-กิจกรรม Sanam Small green/มาหาสมุด/สุดหรรษา ฯลฯ-การแข่งขันตอบปัญหา “สนามจันทร์ บรรณภพ ครั้งที่ 2” การจำหน่ายสินค้าสร้างสรรค์จากนักศึกษาและหน่วยงานภายนอก / มีรถรางไฟฟ้าบริการฟรี ตลอดงาน ****ใส่ชุดนักเรียนหรือชุดสุภาพร่วมงาน / ลงทะเบียนรับของที่ระลึกหน้างาน***26 - 28 สิงหาคม 2567ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม*** เปิดบ้านคณะวิชาในพระราชวังสนามจันทร์ ได้แก่ คณะจิตรกรรมฯ /คณะมัณฑนศิลป์ / คณะอักษรศาสตร์ / คณะศึกษาศาสตร์ /คณะวิทยาศาสตร์ /คณะเภสัชศาสตร์ / คณะวิศวกรรมศาสตร์ฯ***https://www.facebook.com/Tubkaewvichakarn
เมื่อวันที่ 2-5 พฤศจิกายน 2566 สำนักงานบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ 2567 ณ โรงเแรมบ้านสวนคุณตา กอล์ฟ แอนด์รีสอร์ท อ.วานินชำราบ จ.อุบลราชธานี จำนวน 6 หลักสูตร
อาจารย์ ดร.ชิษณุพงศ์ ศิริโชตินิศากร ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้แทนอธิการบดี พร้อม ผศ.ดร.ณัฐพร กาญจนภูมิ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และผศ.ดร.อนุกูล บูรณประพฤกษ์ หัวหน้าภาควิชาการออกแบบเครื่องแต่งกายเข้าร่วมงาน “ผ้าขาวม้าวิถีไทย ทอใจอย่างยั่งยืน” ภายใต้แนวคิด “พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก” กิจกรรมส่งมอบผลงานจาก 17 มหาวิทยาลัยชั้นนำ สู่ชุมชน และเดินแฟชั่นโชว์ผลงานการออกแบบ โดยเป็นส่วนหนึ่งของงาน Sustainability Expo 2023 (SX 2023) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 กันยายน - 8 ตุลาคม 2566 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์โดยในงานนี้มี วัตถุประสงค์หลักของโครงการคือการสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของผ้าขาวม้าในเชิงศิลปวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม สร้างอาชีพและเสริมสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน อีกทั้ง ยังเป็นการอนุรักษ์ มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) โดย กิจกรรมในครั้งนี้มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมออกแบบ ชุดแต่งกาย ซึ่งเป็นผลงานของน้องๆนักศึกษาและอาจารย์ที่มาร่วมพัฒนา จาก ภาควิชาการออกแบบเครื่องแต่งกาย คณะมัณฑนศิลป์ นอกจากนี้ยังมีผลงานสื่อสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยว จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ต้อนรับ Prof. Dr. Paolo Lugli อธิการบดี จาก Libera Università di Bolzano (Unibz) สาธารณรัฐอิตาลี พร้อม Prof. Arnaldo de Felice ศิลปินนักโอโบชาวอิตาเลี่ยนเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน 2566 ศาสตราจารย์ ดร.ธนะเศรษฐ์ ง้าวหิรัญพัฒน์ อธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นนท์ คุณค้ำชู รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา อาจารย์ ดร.ปริญญา หรุ่นโพธิ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชญ มุกดามณี คณบดีคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วุฒิชัย เลิศสถากิจ คณบดีคณะดุริยางคศาสตร์ และอาจารย์ดำริห์ บรรณวิทยกิจ อาจารย์ประจำหลักสูตรการแสดงดนตรี คณะดุริยางคศาสตร์ ได้ให้การต้อนรับ Prof. Dr. Paolo Lugli อธิการบดี จาก Libera Università di Bolzano (Unibz) สาธารณรัฐอิตาลี พร้อม Prof. Arnaldo de Felice ศิลปินนักโอโบชาวอิตาเลี่ยน ซึ่งเป็นบุคลากรของ Unibz ณ ห้องประชุมนริศรานุวัดติวงศ์ ชั้น 4 สำนักงานอธิการบดี ตลิ่งชัน เพื่อร่วมหารือเกี่ยวกับประเด็นความร่วมมือเพิ่มเติมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตร่วมกัน เนื่องจาก Unibz มีระดับ ranking ด้านการอุดมศึกษาอยู่ในระดับเเนวหน้าของโลก
Mobile Application ที่มาพร้อม Concept : “Better Informative Life Change!!” ที่จะช่วยตอบโจทย์ Lifestyle ของนักศึกษาให้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้นมาพร้อม Feature SU Community ที่เป็นแหล่งรวมชาวศิลปากรในการแลกเปลี่ยนความรู้ในด้านต่าง ๆ รวมถึงการสร้างมิตรภาพกับเพื่อน ๆ หลากหลายคณะและยังมีกิจกรรมให้ได้ร่วมสนุกเพื่อลุ้นรับของรางวัลสุดพิเศษจากมหาวิทยาลัยศิลปากรอีกด้วยฟีเจอร์ใหม่ ๆ บน SU SMART PLUS New Version• Up-to-date Target News• Customizable Student Card• Targeted Notifications• Academic Calendarสามารถดาวน์โหลดกันได้แล้ววันนี้ทั้งใน App Sotre และ Play Store**ผู้ที่มี Application SU SMART PLUS อยู่แล้วสามารถ Update เป็น New Version ได้เลย.มาร่วมสร้าง SU Community และเปิด Notification เพื่อรอลุ้นรับของรางวัลสุดพิเศษกันเยอะ ๆ นะ